เมนู

4. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย

[256] กรรม 4


1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่
2. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาว
มีอยู่
3. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบาก
ทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่
4. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่.

[257 ] สัจฉิกรณียธรรม 4


1. บุพเพนิวาส พึงทำให้แจ้งด้วยสติ
2. การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย พึงทำให้แจ้งด้วยจักษุ
3. วิโมกข์แปด พึงทำให้แจ้งด้วยกาย
4. ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย พึงทำให้แจ้งด้วยปัญญา.

[258] โอฆะ 4


1. กาโมฆะ โอฆะคือกาม
2. ภโวฆะ โอฆะคือภพ
3. ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฐิ
4. อวิชโชฆะ โอฆะคือวิชชา.

[259] โยคะ 4


1. กามโยคะ โยคะคือกาม
2. ภวโยคะ โยคะคือภพ
3. ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฐิ
4. อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา.

[260] วิสังโยคะ 4


1. กามโยควิสังโยคะ ความพรากจากกามโยคะ
2. ภวโยควิสังโยคะ ความพรากจากภวโยคะ
3. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
4. อวิชชาโยควิสังโยคะ ความพรากจากอวิชชาโยคะ.

[261] คันถะ 4


1. อภิชฌากายคันถะ เครื่องรัดกายคืออภิชฌา
2. พยาบาทกายคันถะ เครื่องรัดกายคือพยาบาท
3. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส
4. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เครื่องรัดกายคือความเชื่อแน่ว่า
สิ่งนี้เป็นจริง.

[262] อุปาทาน 4


1. กามุปาทาน ถือมั่นกาม
2. ทิฏฐุปาทาน ถือมั่นทิฐิ
3. สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นศีลและพรต
4. อัตตวาทุปาทาน ถือมั่นวาทะว่าตน.

[263] โยนิ 4


1. อัณฑชโยนิ กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่